รายละเอียด

ช่วงนี้เริ่มคลายล็อคดาวน์กันแล้ว หลายๆท่านคงใช้เวลาในวันหยุดออกเดินทางพักผ่อนหรือไปเที่ยวกันโดยรถส่วนตัวกัน เพราะสถานการณ์โควิดยังคงเป็นเหตุให้ผู้คนเลี่ยงการใช้บริการขนส่งสาธารณะหรือรถรับจ้าง  โดยเฉพาะการไปเที่ยวภาคเหนือซึ่งภูมิประเทศส่วนมากก็เป็นทางขึ้นเขาลาดชัน วันนี้เอพลัสคาร์  จึงหยิบยกข้อควรรู้และคำแนะนำจากเงินติดล้อ มาฝากชาวเอพลัสที่มีแพลนจะออกทัวร์ในช่วงไฮซีซั่นด้วยรถส่วนตัว โดยเฉพาะกับผู้ที่ไม่ชำนาญการขับรถในสภาพทางที่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษมาฝาก ไปอ่านกันเลย!

ขับรถขึ้น-ลงเขาด้วยเกียร์กระปุก ต้องใช้เกียร์อะไรบ้าง

รถเกียร์กระปุก หรือ Manual คือ รถยนต์ที่คนขับต้องจัดการทุกอย่างเอง เช่น เข้าเกียร์ เปลี่ยนเกียร์ หรือปล่อยคลัตช์ ให้เหมาะสมกับการขับขี่ ณ ขณะนั้น สำหรับใครที่สงสัยว่าขับรถขึ้นเขาใช้เกียร์อะไร สำหรับเกียร์กระปุก มีดังนี้ครับ

  1. วิธีขับรถขึ้นเขาต้องใช้เกียร์ต่ำ

    ต้องบอกก่อนครับว่า ขับรถขึ้นเขาหรือลงเขาผู้ขับรถมือใหม่ที่ไม่เคยขับรถขึ้นดอยเลยอาจคาดคะเนไม่ถูกว่าทางขึ้นเขาจะมีความชันมากแค่ไหน ดังนั้น ให้รู้เอาไว้เลยครับว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ขับรถขึ้นเขาแล้วความเร็วรถถูดลดลง ควรเปลี่ยนเป็นเกียร์ต่ำ (เกียร์1หรือ เกียร์​ 2) เพราะถ้าใช้เกียร์สูงมากกว่านี้ เครื่องยนต์จะไม่ไม่มีพลังมากพอในการฉุดให้รถขึ้นเขาได้

  2. ขับรถขึ้นเขาแล้วต้องหยุดระหว่างทาง

    ในขณะที่ขับรถขึ้นดอย แล้วจำเป็นต้องหยุดรถ หากจะเริ่มเดินทางต่ออีกครั้ง ให้สตาร์ทรถแล้วเข้าเกียร์​ 1 พร้อมกับใช้ปลดเบรคมือควบคู่กัน เพราะช่วยให้รถไม่ไหลเวลาที่คุณถอนเท้าออกจากคลัตช์นั่นเอง

  3. ขับรถลงเขาต้องใช้เกียร์อะไร

    ขับรถลงเขาต้องใช้เกียร์อะไร คำตอบคือ เกียร์​ 1 หรือ เกียร์ 2 เช่นเดียวกับขับรถขึ้นเขาเลยครับ จริงๆ จะปล่อยให้ไกลไปก็ได้ด้วยเกียร์ว่าง เพราะเป็นทางลาดลงเหมือนสไลด์เดอร์ แต่อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอครับ ใครเลยจะรู้ว่าจะมีสัตว์ป่าออกมาตอนไหน จะได้สามารถควบคุมเบรคได้ทัน ไม่ให้รถเสียการทรงตัวครับ

เกียร์ออโต้ขึ้นเขา

วิธีขับรถเกียร์ออโต้ขึ้นเขา-ลงเขา ต้องขับอย่างไร?

เกียร์ออโต้ หรือ Automatic เป็นเกียร์รถยนต์ที่ทำให้ผู้ขับขับรถง่ายขึ้น ถ้าขับรถบนถนนทางหลวงในเมือง เพียงใช้ตำแหน่ง D ก็สามารถใช้งานได้แล้ว แต่ขับรถเกียร์ออโต้ขึ้นเขาไม่ใช่แบบนั้นเลยนะครับ

  1. ขับรถขึ้นเขาด้วยเกียร์ออโต้

    ดูความชันของเส้นทางด้วยว่าชันมากหรือชันน้อย หากขับเกียร์ D แล้วเครื่องยนต์เร่งไม่ขึ้น ให้เปลี่ยนมาใช้เกียร์ D1-D2 เพื่อให้รถขับเคลื่อนไปได้ และหาความเร็วที่เหมาะสมเพื่อควบคุมรถ

    หลังจากนั้นค่อยกลับมาใช้เกียร์​ D ถ้าเป็นทางราบปกติ หากขับเกียร์​ D ตลอดระยะทางก็ทำได้ครับ แต่จะทำให้เกียร์ร้อนได้ การใช้เกียร์ต่ำเลยทำให้รถวิ่งได้อย่างต่อเนื่อง

  2. ขับรถลงเขาด้วยเกียร์ออโต้

    เช่นเดียวกับวิธีขับรถขึ้นเขาด้วยเกียร์กระปุกเลยครับคือ ห้ามใส่เกียร์ว่าง หรือ N เพราะจะทำให้รถไหลแล้วเสียการควบคุม ทางที่ดีควรเปลี่ยนเป็นเกียร์ D1-D2 เพื่อรักษาความเร็วของรถให้เสถียร รถจะวิ่งหน่วงๆ และช้าลง ทำให้คุณขับรถลงเขาอย่างปลอดภัย แล้วที่สำคัญไม่เหยียบคันเร่ง และไม่เหยียบเบรคยาวๆ

ขับรถขึ้น-ลงเขา ใช้เกียร์อะไร

เทคนิค ขับเกียร์กระปุกขึ้นเขา หรือเกียร์ออโต้ขึ้นเขาที่เหมือนกัน

ด้วยความที่มีรถยนต์ให้เลือกใช้ทั้งรถยนต์เกียร์กระปุก และรถยนต์เกียร์ออโต้ จึงมีวิธีขับรถขึ้นเขาแตกต่างกันออกไป แต่เทคนิคที่จะนำมาฝากกันในหัวข้อนี้ สามารถใช้ขับรถขึ้น-ลงเขาได้ทั้ง 2 เกียร

  1. ความเร็วในการขับรถขึ้นเขา

    ด้วยความที่การขับรถขึ้นดอย หรือขับรถขึ้นเขาเป็นเส้นทางที่ชันมาก ทำให้ต้องรักษาความเร็วอยู่ที่ 50-80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพราะถ้าขับไวมากๆ จะทำให้คุณสูญเสียการบังคับรถ เหยียบเบรครถยนต์ได้ยาก และก่อให้เกิดอุบัติเหตุรถชน หรือขับรถตกเขาได้

  2. ความเร็วในการขับรถลงเขา

    ก่อนอื่นต้องหมั่นเหยียบเบรครถยนต์เป็นระยะ เพราะถ้าเหยียบค้างนานๆ จะทำให้เกิดเบรคไหม้ หรือเบรกแตกได้ครับ และความเร็วควรรักษาระดับให้คงที่ 30-50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

  3. ความเร็วที่ไม่ให้ขับรถหลุดโค้ง

    ขับรถบนถนนทางหลวงเวลาเข้าโค้งก็ว่าอันตรายแล้ว แต่ขับรถขึ้นลงเขาและต้องเข้าโค้ง คงทวีคูณความน่ากลัวสำหรับมือใหม่มากๆ เพราะถ้าหลุดโค้งขึ้นมาจะทำให้ร่างกายและทรัพย์สินเสียหาย ดังนั้น ควรลดความเร็วให้อยู่ที่ 40-50 กิโลเมตรต่อชั่วโมงครับ

  4. ปล่อยเกียร์ว่างทำให้รถไหล

    ปกติแล้วเรามักจะใช้เกียร์ว่างไว้เวลาจอดรถซ้อนคันอื่นในลานจอดรถ เพื่อให้ใครก็ตามสามารถเข็นรถไปมาได้ แต่ในกรณีนี้ที่ขับรถลงเขา ไม่ควรใช้เกียร์ว่าง เพราะทางลงเขาเป็นทางลาดเหมือนสไลเดอร์ ทำให้รถไหลด้วยความเร็วสูง จึงควบคุมหรือใช้เบรกได้อยาก ซึ่งก่อให้เกิดอุบัติเหตุรถชนได้

    ขับรถลงเขาใช้เกียร์อะไร

 

 


ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก เงินติดล้อ

แชร์เลย